
กลุ่มบริหารงบประมาณ
1.แนวคิด
การบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารแบบ มุ่งเน้นผลงาน ให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากบริหารมาใช้ใน การจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน
2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้การบริหารงานมีความเป็นอิสระ คล่องตัว โปร่งใสตรวจสอบได้
2.เพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์เป็นไปตามข้อตกลงการให้บริการ
3.เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ได้อย่างเพียงพอและประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้บริหาร สนับสนุน ส่งเสริม ประสานงานและอํานวยการ ให้การปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นไป ด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. วิสัยทัศน์
กลุ่มบริหารงบประมาณปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ ถูกต้อง รวดเร็ว และโปร่งใส
4. พันธกิจ
บริหารจัดการอย่างถูกต้องตามระเบียบด้วยระบบการมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา การศึกษาของโรงเรียน
5. นโยบาย
1.พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ของงานในกลุ่มบริหารงบประมาณ
2.ส่งเสริมครูและบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารงบประมาณ
3.ส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานภายนอก
6. หน้าที่และความรับผิดชอบ 4 กลุ่มงาน
1. กลุ่มงานอํานวยการ
2.กลุ่มงานการเงินบัญชี
3.กลุ่มงานพัสดุและสินทรัพย์
4.กลุ่มงานวิเคราะห์และจัดทําแผนของสถานศึกษา
การดําเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในรายการพื้นฐานให้ ได้แก่
- ค่าจัดการเรียนการสอน
- หนังสือเรียน
- อุปกรณ์การเรียน
- เครื่องแบบนักเรียน
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
หนังสือเรียน
ระดับมัธยมศึกษา (ม.1 – ม.6) ใช้หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐาน/รายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และปรับปรุง พุทธศักราช 2560
งบจัดสรรอัตราหนังสือ
– ม.1 จัดให้ 808 บาท
– ม.2 จัดให้ 921 บาท
– ม.3 จัดให้ 996 บาท
– ม.4 จัดให้ 1,384 บาท
– ม.5 จัดให้ 1,326 บาท
– ม.6 จัดให้ 1,164 บาท
อุปกรณ์การเรียน
อุปกรณ์การเรียนที่จําเป็น ประกอบด้วย สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด วัสดุฝึก เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุ ICT กระเป๋านักเรียน หรือหากมีอุปกรณ์การเรียนครบแล้วสามารถนําเงินไปจัดซื้อเครื่องแบบ นักเรียนได้ เป็นต้น
อัตราที่กําหนด
– มัธยมศึกษาตอนต้น 260 บาท/ภาคเรียน
– มัธยมศึกษาตอนปลาย 260 บาท/ภาคเรียน
เครื่องแบบนักเรียน
ประกอบด้วย เสื้อ/กางเกง/กระโปรง หากมีเครื่องแบบนักเรียนเพียงพอแล้ว อาจนําเงินที่ได้รับไปจัดซื้อ เข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ชุดกีฬา/อุปกรณ์การเรียนที่จําเป็นได้
อัตราที่กําหนด
– มัธยมศึกษาตอนต้น 500 บาท/ภาคเรียน
– มัธยมศึกษาตอนปลาย 550 บาท/ภาคเรียน
ทั้งนี้ ผู้ปกครอง/นักเรียนสามารถถัวจ่ายระหว่างอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบนักเรียนได้
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ประกอบด้วย กิจกรรมวิชาการ, กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ทัศนศึกษา, การบริการสารสนเทศ/ICT
อัตราที่กําหนด
– มัธยมศึกษาตอนต้น 449 บาท/ภาคเรียน (898 บาท/คน/ปี)
– มัธยมศึกษาตอนปลาย 485บาท/ภาคเรียน (970 บาท/คน/ปี)
แนวทางการจัดสรรงบประมาณ
- สพฐ. แจ้งการโอนเงินภาคเรียนที่ 1 ฐานข้อมูล 10 มิ.ย. ของปีการศึกษา งบประมาณให้เบื้องต้น 70% ของนักเรียนเดิม โดยคิดนักเรียนเก่าที่เลื่อนชั้น 100% และภาคเรียนที่ 2 อีก 30% โดยโอนเงินเข้าบัญชี สถานศึกษา
- โรงเรียนดําเนินการค่าเล่าเรียน/หนังสือแบบเรียน/กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผู้ปกครองรับเงินไป ดําเนินการ เครื่องแบบนักเรียน/อุปกรณ์การเรียน
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือเรียน
หนังสือเรียน
1.การคัดเลือกหนังสือ – ครูผู้สอนเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกหนังสือตามเหตุผล เชิงคุณค่าทางวิชาการ เสนอคณะกรรมการวิชาการ ผ่านความเห็นชอบจากกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานและคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทน ชุมชน และผู้แทนกรรมการนักเรียน)
2.การจัดซื้อ – ดําเนินการจัดซื้อโดยถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ระเบียบระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาคเรียน พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง – คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่มีส่วนได้เสียในการจัดซื้อร่วม สังเกตการณ์ในการจัดซื้อและตรวจรับพัสดุอย่างน้อย 1 คน
3.การแจกหนังสือเรียน – หนังสือเรียนทุกเล่มโรงเรียนจะแจกให้นักเรียนยืมเรียน นักเรียนต้องดูแล รักษาและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าสูงสูด โดยไม่ต้องส่งคืนเมื่อสิ้นปีการศึกษา
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียน
สถานศึกษา – จ่ายเงินสดให้ผู้ปกครอง/นักเรียนในรูปคณะกรรมการอย่างน้อย 2 คน
นักเรียน/ผู้ปกครอง
- รับเงิน/ลงลายมือชื่อโดยนักเรียน
- จัดซื้อเครื่องแบบ 2 ชุด หรืออย่างน้อย 1 ชุด (ถ้ามีพอ) ที่เหลือซื้ออย่างอื่น เช่น ถุงเท้า/รองเท้า/ชุดกีฬา
- มอบใบเสร็จต่อโรงเรียน
*เงินเหลือโรงเรียนดําเนินการอย่างอื่นได้โดยความเห็นชอบกรรมการภาคี 4 ฝ่าย*
แนวปฏิบัติใบเสร็จที่ส่งมอบคืนให้กับทางโรงเรียน
- ใบเสร็จที่มีเลขที่ทะเบียนการค้า
- ใบเสร็จที่มีชื่อผู้ประกอบการชัดเจน
- ลงรายการในใบเสร็จตรงตามเงื่อนไขที่กําหนด (ค่าเครื่องแบบ/ค่าอุปกรณ์การเรียน)
- นักเรียนคนใดไม่ส่งใบเสร็จต้องคืนเงินตามจํานวนที่ได้รับ
ค่าใช้จ่ายการขอเก็บเงินบํารุงการศึกษา ประจําปีการศึกษา 2566
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับอนุมัติจากสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และประกาศประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบ ล่วงหน้า สนับสนุนค่าใช้จ่าย โดย
- ชําระเงินผ่านธนาคารกรุงไทยจากแบบฟอร์ม
- ชําระเงินทาง แอปพลิเคชั่นของธนาคารกรุงไทย ดังนี้
2.1 เข้าสู่ระบบ แอปพลิเคชั่นกรุงไทย
2.2 เลือกเมนูจ่ายเงิน
2.3 พิมพ์ TAB ค้นหา Com Code : 81862
2.4 กรอกข้อมูลตามขั้นตอนสนับสนุนค่าใช้จ่าย ดังนี้
ก. ห้องเรียนปกติ
ภาคเรียนที่ 1/2566
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 จํานวน 3,600 บาท
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3, 5, 6 จํานวน 3,400 บาท
ภาคเรียนที่ 2/2566
ทุกระดับชั้นเรียน จํานวน 3,400 บาท
ข. ห้องเรียนพิเศษ
โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (SCIENCE – MATH GIFTED PROGRAM)
ภาคเรียนละ 15,000 บาท
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (ENGLISH PROGRAM : EP)
ภาคเรียนละ 35,000 บาท (ลดเหลือ 25,000 บาท)
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (INTENSIVE ENGLISH PROGRAM: IEP)
ภาคเรียนละ 8,500 บาท